การทำเกษตรทฤษฎีใหม่
ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยใช้แนวคิดแห่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการบริหารงานในการทำการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ของประเทศไทย ได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรได้มีชีวิตอยู่โดยหลุดพ้นบ่วงแห่งความยากจน
หลักการ
พื้นที่ส่วนที่ 1 จำนวน 1.2 ไร่ ขุดสระกักเก็บน้ำจำนวน 2 สระ สามารถกักเก็บน้ำได้มาก เพียงพอต่อการนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตรได้ทั้งปีแต่การผันน้ำมาใช้นั้น หากพื้นที่กว้างใหญ่ เช่นมีเนื้อที่ประมาณ 12-13 ไร่ การขุดสระโดยใช้พื้นที่ถึง 3-4 ไร่นั้นยังคงต้องใช้เครื่องจักรกลในการสูบน้ำมาใช้ ทำให้สูญเสียพลังงานเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ถ้าสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ หรือหาพลังงานเชื้อเพลิงอื่นทดแทน หรือมีการวางแผนการใช้น้ำ เช่น หากพื้นที่มีระดับที่ต่างกันมาก สามารถวางท่อนำน้ำออกมาใช้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำและน้ำมัน เป็นการจัดการทำให้ต้นทุนการเกษตรลดลงได้ในระยะยาว สำหรับพื้นที่เล็กๆ ประมาณ 1-2 ไร่ สามารถทำเป็นท้องร่องได้โดยกะให้กว้างพอประมาณไม่ให้แคบเกินไปเพราะเนื้อที่แคบน้ำจะขาดแคลน
พื้นที่ส่วนที่ 2 ใช้พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปลูกข้าว การปลูกข้าวด้วยพื้นที่ 1 ไร่ควรใช้วิธีการดำนา หรือ การปลูกข้าวต้นเดียว เพราะจะให้ผลผลิตดี ปริมาณมากกว่าการปลูกข้าวแบบหว่านปกติ เนื่องจากการปักข้าวลงดินเองจะทำให้ข้าวมีผลผลิตดี การเตรียมดิน และปักดำโดยใช้ข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 ทำการกำจัดวัชพืชในนาข้าว โดยการถอน และไถกลบ เริ่มแรกอาจมีการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนเนื่องจากถั่ว เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตเร็ว หลังเก็บเกี่ยวสามารถไถกลบและซังพืชจะเป็นปุ๋ยชั้นดีให้นาข้าว
พื้นที่ส่วนที่ 3 มีทั้งหมด 1.5 ไร่ ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยสามารถปลูกมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ ปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกพืชผัก ปลูกไม้ใช้สอย เช่น ต้นสัก ต้นไผ่รวก ไผ่ตง หรือ ต้นหวาย โดยทั้งนี้พื้นที่การปลูกอาจใช้พื้นที่ทั้งหมดที่เหลือโดยพื้นที่สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนก็สามารถปลูกคร่อมพื้นที่ส่วนที่ 3 ได้เช่นเดียวกัน
พื้นที่ส่วนที่ 4 นี้มีพื้นที่เหลือประมาณ 3 งาน สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เล็กๆ ใต้ถุนเรือน หรือผสมผสานในการปลูกบ้านเรือนยกสูงบนสระน้ำ ให้ใต้ถุนเป็นคอกเลี้ยงเป็ดไก่ หมู ติดกับสระน้ำ โดยในน้ำก็มีการเลี้ยงปลาดุกปลานิลผสมกัน เป็นแนวทางการเกษตรแบบพึ่งพาอาศัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)